KNOW HOW
  • FINANCIAL

    อัตราดอกเบี้ยบ้าน 2567 สินเชื่อบ้าน-คอนโด ทุกธนาคาร ล่าสุด

    อัปเดต! อัตราดอกเบี้ยบ้าน 2567 คนอยากกู้ซื้อบ้านต้องอ่าน รวบรวมดอกเบี้ยบ้านแต่ละธนาคาร สินเชื่อที่น่าสนใจ รวมถึงวิธีคำนวณและเคล็ดลับการเลือกสินเชื่อ

    AP THAILAND

    AP THAILAND

    อัตราดอกเบี้ยบ้าน

    MAIN POINTS 

     

    • อัตราดอกเบี้ยบ้านปี 2567 ของแต่ละธนาคารมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ทั้งดอกเบี้ยบ้าน วงเงินกู้สูงสุด ระยะเวลาการกู้ และเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนต้องการกู้ซื้อบ้าน ต้องศึกษาและอ่านรายละเอียดเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจกู้ยืม
    • เคล็ดลับการเลือกสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้านคอนโดให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุด ประกอบไปด้วย เลือกสินเชื่อจากโครงการบ้าน, เลือกธนาคารที่เป็นเจ้าของบ้าน NPA, เลือกสินเชื่อเพื่อบุคคลวิชาชีพพิเศษ, เลือกทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ และเลือกรูปแบบอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสม

     

     

    อัตราดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน-คอนโด

     

     

    เวลาจะซื้อบ้านนอกจากจะต้องพิถีพิถันในการเลือกบ้านให้ตอบโจทย์แล้ว ก็ต้องใส่ใจในการเลือกสินเชื่อบ้านและธนาคารที่เหมาะสมและตอบโจทย์ เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยบ้านที่ต่ำที่สุด วันนี้ AP Thai เลยจะมาอัปเดตอัตราดอกเบี้ยบ้านปี 2567 และสินเชื่อที่น่าสนใจจากธนาคารต่าง ๆ พร้อมด้วยวิธีการคำนวณดอกเบี้ยและเคล็ดลับการเลือกสินเชื่อยังไงให้ได้ดอกเบี้ยต่ำ ว่าแต่จะมีเคล็ดลับอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย!

     

    อัปเดต! อัตราดอกเบี้ยบ้าน-คอนโด ล่าสุด ปี 2567

    ดอกเบี้ยบ้าน

     

     

     ธนาคาร ดอกเบี้ยขั้นต่ำ 3 ปีแรก    MRR วงเงินกู้สูงสุด ระยะเวลากู้
    อาคารสงเคราะห์ 2.71% 6.545%

    100 %

    40 ปี

    ออมสิน 2.99% 6.595%

    110 %

    30 ปี

    กรุงศรีอยุธยา 3.258% 7.275%

     100 %

    30 ปี

    ทหารไทยธนชาต 3.30% 7.705%

    100 %

    35 ปี

    กรุงไทย 3.60% 6.925%

    100 %

    40 ปี

    ไทยพาณิชย์ 3.47% 7.175%

    100 %

     30 ปี

    กสิกรไทย 3.45% 7.18%

    100 %

    30 ปี

    กรุงเทพ 3.55% 7.00%

    100 %

    30 ปี

     

    อัปเดตอัตราดอกเบี้ยล่าสุด:  11 ธันวาคม 2567 

    โดยอัตราดอกเบี้ยบ้านอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเศรษฐกิจและนโยบายของธนาคารนั้น ๆ รวมถึงระยะเวลากู้ยืม คุณสมบัติผู้ยื่นกู้ และประเภทสินเชื่อ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น จึงควรตรวจสอบข้อมูลจากธนาคารเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจกู้ยืม

     

    เลือกสินเชื่อบ้าน-คอนโดธนาคารไหนดี

    สินเชื่อกู้ซื้อบ้าน

     

    1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

    • โปรโมชัน: สินเชื่อบ้านเบอร์ 5 เป็นสินเชื่อบ้านที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 1.99% ต่อปี และ 3.15% ในปีที่ 2-3 จากนั้นดอกเบี้ยจะเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัวขึ้นลงตาม MRR -1.50% ต่อปี พร้อมระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 40 ปี โดยสามารถยื่นกู้และทำนิติกรรมได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567
    • วงเงินกู้สูงสุด: เป็นไปตามเกณฑ์หลักประกันหรือเกณฑ์รายได้ตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อ

    ที่มา: ธนาคารอาคารสงเคราะห์

     

    2. ธนาคารออมสิน

    • โปรโมชัน: สินเชื่อ GSB Green Home Loan มีอัตราดอกเบี้ยบ้านเฉลี่ย 3 ปีแรก 4.795% ต่อปี และตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนมาเป็น MRR -0.750% ต่อปี พร้อมระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 40 ปี เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาการผ่อนต้องไม่เกิน 70 ปี
    • วงเงินกู้สูงสุด: ไม่เกิน 110% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินหลักทรัพย์

    ที่มา: ธนาคารออมสิน 

     

    3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

    • โปรโมชัน: สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 2.50% และผ่อนนานสูงสุด 30 ปี (ระยะเวลาผ่อนจะต้องไม่เกิน 65 ปี เมื่อรวมกับอายุผู้กู้) พิเศษสำหรับผู้รับเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงศรีฯ จะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยปีแรก 0.25% จากอัตราดอกเบี้ยปกติ
    • วงเงินกู้สูงสุด: สำหรับบ้านใหม่สามารถกู้ได้สูงสุด 110% ของราคาประเมิน ส่วนบ้านมือสองสามารถกู้ได้สูงสุด 90% ของราคาประเมิน

    ที่มา: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 

     

    4. ธนาคารทหารไทยธนชาต

    • โปรโมชัน: สินเชื่อบ้านใหม่-บ้านมือสอง มีอัตราดอกเบี้ยบ้านพิเศษคงที่ 3 ปีแรก 3.30% ต่อปี รับฟรีค่าประเมินหลักทรัพย์และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย โดยสามารถยื่นกู้ซื้อบ้านและคอนโด ได้ทั้งแบบกู้คนเดียวและแบบกู้ร่วม พร้อมระยะเวลาการผ่อนสูงสุด 35 ปี
    • วงเงินกู้สูงสุด: ไม่เกิน 50,000,000 บาท หรือไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขาย/ราคาประเมิน โดยวงเงินขั้นต่ำจะอยู่ที่ 500,000 บาท

    ที่มา: ธนาคารทหารไทยธนชาต 

     

    การซื้อขายบ้าน

     

    5. ธนาคารกรุงไทย

    • โปรโมชัน: สินเชื่อบ้านกรุงไทย เป็นสินเชื่อบ้านที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี เริ่มต้นปีแรก 1.99% ต่อปี และหลังจากปีที่ 3 ดอกเบี้ยบ้านจะเปลี่ยนมาเป็นดอกเบี้ย MLR -0.750% ต่อปี สำหรับกู้เงินซื้อบ้านมือหนึ่ง มือสอง หรือที่ดินพร้อมปลูกสร้างบ้าน พร้อมระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 40 ปี
    • วงเงินกู้สูงสุด: ไม่เกิน 100% ต่อหลักประกัน โดยบ้านที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000,000 บาท จะกู้ได้ 70%-110% ส่วนบ้านที่มีมูลค่าน้อยกว่า 10,000,000 บาท จะกู้ได้ 70%-90%

    ที่มา: ธนาคารกรุงไทย 

     

    6. ธนาคารไทยพาณิชย์

    • โปรโมชัน: สินเชื่อซื้อบ้านใหม่ เป็นสินเชื่อบ้านที่มีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นคงที่ 1 ปีแรก 2.55% และในปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ยบ้านจะเปลี่ยนมาเป็น MRR -3.37% ต่อปี พร้อมระยะเวลาการผ่อนสูงสุดนาน 30 ปี โดยระยะเวลาผ่อนเมื่อรวมอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี
    • วงเงินกู้สูงสุด: ไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกันตามราคาประเมินหรือราคาซื้อขายในสัญญาซื้อขายของกรมที่ดิน สำหรับบ้านหลังแรกที่ราคาต่ำกว่า 10,000,000 บาท

    ที่มา: ธนาคารไทยพาณิชย์ 

     

    7. ธนาคารกสิกรไทย

    • โปรโมชัน: สินเชื่อบ้านมือหนึ่งและมือสอง กับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1.99% ปีแรก สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ 100,000 บาทขึ้นไป / เดือน  และในปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยบ้านจะเปลี่ยนมาเป็น MRR -2.74% ต่อปี พร้อมระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 30 ปี และรวมอายุผู้กู้สูงสุดไม่เกิน 70 ปี โดยสามารถยื่นกู้และทำนิติกรรมได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567
    • วงเงินกู้สูงสุด: ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขายและราคาประเมินหลักประกัน

    ที่มา: ธนาคารกสิกรไทย 

     

    8. ธนาคารกรุงเทพ

    • โปรโมชัน: สินเชื่อบ้านสำหรับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยบ้านเฉลี่ย 3 ปี 3.72% โดยสามารถเลือกผ่อนชำระได้ทั้งแบบขั้นบันไดและแบบคงที่ พร้อมระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 30 ปี พิเศษด้วยการยกเว้นค่าประเมินราคาหลักประกันและค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อ
    • วงเงินกู้สูงสุด: ไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกัน

    ที่มา: ธนาคารกรุงเทพ 

     

    หลังจากที่ทุกคนได้รู้อัตราดอกเบี้ยบ้านปี 2567 ของแต่ละธนาคารแบบคร่าว ๆ กันไปแล้ว ก็น่าจะอยากรู้แล้วว่า ถ้าต้องการกู้ซื้อบ้านราคานี้ จะต้องผ่อนเดือนละเท่าไร เพื่อไขข้อสงสัยก็ตามไปดูวิธีคิดดอกเบี้ยบ้านแบบง่าย ๆ เพื่อช่วยประเมินความสามารถในการผ่อนจ่ายของเรา

     

    วิธีการคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแบบง่าย ๆ

    การคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน

     

    ส่วนมากดอกเบี้ยบ้านใน 3 ปีแรก มักจะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ และหลังจากนั้นจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสูตรนี้

     

    ค่างวด = (วงเงินกู้ + (วงเงินกู้ x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนปีที่กู้)) ÷ จำนวนเดือนการผ่อน

     

    ตัวอย่างเช่น

    ต้องการกู้บ้านราคา 3,000,000 บาท ด้วยการผ่อนชำระเป็นเวลา 30 ปี และเลือกโปรโมชั่นธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยบ้านคงที่ 3.0% ต่อปี หลังจากนั้นดอกเบี้ยบ้านจะเปลี่ยนมาเป็นแบบลอยตัว MRR +1.5% และหาก MRR ของธนาคารในขณะนั้นอยู่ที่ 3.5% ก็จะหมายถึงหลังปีที่ 3 ของการกู้ซื้อบ้าน เราจะต้องเสียดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.0% ต่อปี ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้

     

    • ค่างวดในปีที่ 1-3: (3,000,000 + (3,000,000 x 3.0% x 30)) ÷ 360 = 15,833 บาท
    • ค่างวดในปีที่ 3 เป็นต้นไป: (3,000,000 + (3,000,000 x 5.0% x 30)) ÷ 360 = 20,833 บาท

     

    ถ้าใครอยากรู้เรื่องสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยบ้านเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่นี่!

    ทำความรู้จักอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน พร้อมวิธีคำนวณ

     

    ช่วยให้การคำนวณค่างวดง่ายกว่าเดิม ด้วยโปรแกรมคำนวณผ่อนบ้านจากเอพี

    อยากซื้อบ้านที่ตอบโจทย์ทั้งไลฟ์สไตล์และการเงินของตัวเอง สามารถใช้โปรแกรมคำนวณผ่อนบ้านจากเอพี เพื่อเช็คยอดสินเชื่อและค่างวดในแต่ละเดือนแบบคร่าว ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนการเงินในอนาคต

    โปรแกรมคำนวณผ่อนบ้าน คำนวณผ่อนคอนโด คำนวณสินเชื่อเบื้องต้น

     

    หลังจากที่ได้ลองกดเครื่องคิดเลขคำนวณค่าผ่อนบ้านกันไปแบบคร่าว ๆ แล้ว เราก็จะมาแนะนำ 5 เคล็ดลับการเลือกสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้านและคอนโดยังไง ให้ได้ดอกเบี้ยนที่ต่ำแล้วคุ้มค่า

     

    5 เคล็ดลับเลือกสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้าน-คอนโดให้ได้ดอกเบี้ยต่ำ

    1. เลือกสินเชื่อซื้อบ้านใหม่ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษจากโครงการ

    การซื้อบ้านจากโครงการ

     

    เหมาะสำหรับคนที่ตัดสินใจเลือกซื้อบ้านใหม่มือหนึ่ง และต้องการอัตราดอกเบี้ยบ้านในเรทพิเศษ สามารถติดต่อโครงการโดยตรง เพื่อรับสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยบ้านพิเศษ เฉพาะลูกค้าโครงการบ้านนั้น ๆ อย่างโครงการบ้านและคอนโดจากเอพี ที่พร้อมมอบดอกเบี้ยสุดคุ้มให้กับลูกค้าในเครือเอพีไทยแลนด์ เพียงแค่ติดต่อขอรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ Line Official Account : AP Thai 

     

    2. เลือกธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Asset : NPA)

    บ้าน

     

    อีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่เต็มไปด้วยความคุ้มค่า อย่างการซื้อบ้านในเครือข่าย NPA ของสถาบันการเงินนั้น ๆ เนื่องจากทางธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ยบ้านพิเศษ สำหรับคนที่ต้องการซื้อบ้านในเครือข่าย NPA จึงมักจะได้ดอกเบี้ยบ้านต่ำ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่หยืดหยุ่นกว่าบ้านมือหนึ่ง เพราะเป็นทรัพย์สินหลุดจำนองจากเจ้าของเดิม

     

    3. เลือกสินเชื่อธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยบ้านต่ำกับบุคคลวิชาชีพพิเศษ

    แพทย์

     

    หากใครทำงานอยู่ในกลุ่มอาชีพบุคคลวิชาชีพพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา อัยการ รวมถึงบุคคลากรที่ทำงานภายในสถาบันการเงินนั้น ๆ ธนาคารมักจะมอบอัตราดอกเบี้ยบ้านให้ในเรทที่ต่ำกว่าบุคคลทั่ว ๆ ไป

     

    4. เลือกสินเชื่อที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกลงเมื่อทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA)

    การทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน

     

    สำหรับใครที่อยากได้ดอกเบี้ยบ้านที่ต่ำเป็นพิเศษ สามารถเลือกกู้สินเชื่อกับธนาคารที่ให้ทำประกัน MRTA หรือประกันคุ้มครองสินเชื่อ เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยบ้านให้ต่ำลง โดยเบี้ยประกัน MRTA สามารถยื่นกู้พร้อมสินเชื่อบ้านและผ่อนชำระพร้อมค่างวดบ้านได้เลย

     

    5. เลือกอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะกับสภาวะตลาด

    อัตราดอกเบี้ยบ้าน

     

    การเลือกอัตราดอกเบี้ยบ้านให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ จะช่วยให้ได้ดอกเบี้ยที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งหากช่วงไหนสภาวะตลาดดูซบเซา ธนาคารจะมีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยลง ก็ควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว แต่กลับกันหากช่วงไหนเศรษฐกิจโลกมีความผันผวน อัตราดอกเบี้ยบ้านจะเพิ่มสูงขึ้น ก็ควรเลือกดอกเบี้ยแบบคงที่แทน

     

    ข้อควรรู้! หลักเกณฑ์สำคัญที่ธนาคารพิจารณาก่อนอนุมัติสินเชื่อ

    การอนุมัติสินเชื่อ

     

    1. คุณสมบัติและประวัติของผู้กู้

    อยากให้การกู้ซื้อบ้านผ่านฉลุย ต้องมีประวัติทางการเงินที่ดี เนื่องจากทางธนาคารจะต้องเช็กคุณสมบัติผู้กู้จากประวัติเครดิตบูโร เพื่อตรวจสอบว่าเคยมีประวัติไม่ดีหรือไม่ เคยค้างชำระหรือจ่ายช้าไหม ถ้าใครประวัติการเงินดี ผ่อนจ่ายตรงเวลาเสมอ จะทำให้การอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น

     

    2. ความสามารถในการผ่อน

    โดยธนาคารจะมีการขอเอกสารการเงินต่าง ๆ จากผู้กู้ ไม่ว่าจะเป็น สลิปเงินเดือนหรือรายการเดินบัญชี เพื่อประเมินว่าผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนจ่ายตามวงเงินที่ยื่นกู้ไป อีกทั้งยังมีการเช็กภาระหนี้สินอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ ธนาคารจึงจะอนุมัติ

     

    3. หลักประกันสินเชื่อบ้าน

    โดยปกติแล้วหากเงินเดือนหรือรายได้ของผู้กู้ไม่เหมาะสมกับวงเงินกู้ที่ยื่นมา สามารถเสริมการอนุมัติด้วยหลักประกันสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน หรือรถยนต์ เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ซึ่งมีส่วนช่วยให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

     

     

    เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อยื่นขอสินเชื่อบ้าน มีอะไรบ้าง?

    การเตรียมเอกสาร

     

    เพื่อให้การยื่นกู้สินเชื่อบ้านและคอนโดรวดเร็วมากขึ้น การเตรียมตัวให้ดีก่อนทำเรื่องจะช่วยให้ขั้นตอนต่าง ๆ ผ่านไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะขั้นตอนการเตรียมเอกสาร ที่จะต้องละเอียดและรอบคอบ เพื่อให้ธนาคารอนุมัติไวขึ้น ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้

     

    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาทะเบียนสมรส (ในกรณีกู้ร่วม)
    • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง
    • หนังสือรับรองเงินเดือน
    • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง
    • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย
    • แผนที่ทำเลที่ตั้งของหลักประกัน
    • แบบแปลนบ้าน
    • สำเนาโฉนดที่ดินหรือสำเนาแสดงกรรมสิทธิ์

     

    เลือกสินเชื่อบ้านที่ให้อัตราดอกเบี้ยเหมาะสมที่สุด

    ทั้งหมดนี้คือการอัปเดตดอกเบี้ยบ้านปี 2567 และสินเชื่อบ้านคอนโดจากธนาคารต่าง ๆ รวมถึง 5 เคล็ดลับการเลือกสินเชื่อกู้ซื้อบ้านคอนโดยังไง เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อย เพื่อช่วยเนรมิตบ้านและคุณภาพชีวิตในฝันของทุกคนให้เกิดขึ้นจริง

     

    รวมโปรโมชั่นบ้านและคอนโดจาก AP            ขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ AP

     

    เอพีไทยแลนด์ ช่วยเติมเต็มความหมายของชีวิต

    เลือกเป็นเจ้าของโครงการบ้านจาก เอพีไทยแลนด์ เพื่อสร้างชีวิตดี ๆ บนพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเอง ไม่ว่าจะเป็น โครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมหรือบ้านแฝดดีไซน์สวย คอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย และโฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋งที่รองรับทุกธุรกิจ สามารถเลือกได้ตามต้องการ เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย

     

     

    EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ

    RELATED ARTICLES