KNOW HOW
  • FINANCIAL

    ฟรีแลนซ์ กู้ซื้อบ้าน อยากให้ผ่านต้องทำยังไง

    เป็นฟรีแลนซ์แต่อยากกู้ซื้อบ้านหรืออยากมีบ้านในฝัน ไม่ใช่เรื่องยาก! เพราะเอพีแจก 6 ทริคฟรีแลนซ์ยื่นกู้บ้านยังไงให้ผ่านฉลุย ไม่โดนปฏิเสธ ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมเอกสารจนถึงวางแผนการเงินให้เหมาะสม

    AP THAILAND

    AP THAILAND

    ฟรีแลนซ์ยื่นกู้บ้านยังไงให้ผ่าน

    MAIN POINTS 

     

    • คนทำอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่อยากมีบ้านและต้องการกู้ซื้อบ้านเป็นของตัวเอง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น กู้ร่วมกับคนในครอบครัว จัดเตรียมเอกสารเพื่อแสดงความน่าเชื่อถือ พยายามสร้างรายได้ให้มั่นคงและชัดเจน
    • นอกจากการจัดการเรื่องเงินเดือนที่เข้า-ออกอย่างสวยงามและแน่นอนเป็นระยะเวลา 2-3 ปีแล้ว ควรเตรียมเอกสารอื่นๆ ด้วย เช่น เอกสารการเสียภาษี บัญชีเงินออม เครดิตบูโร เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของเราให้มากขึ้น

    อาชีพอิสระซื้อบ้าน

     

    อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ใครหลายคน เพราะสามารถแบ่งสรรเวลาได้ตามต้องการ และสามารถหยุดเมื่อไรก็ได้ แต่หนึ่งสิ่งที่ฟรีแลนซ์ต้องคิดเพิ่มคือ หากต้องการซื้อบ้านธนาคารมักจะมองหาความมั่นคงของเงินเดือนในการปล่อยให้กู้บ้าน ซึ่งหากใครไม่ได้เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ อาจทำให้การซื้อบ้านล่าช้าออกไปได้ วันนี้เอพีจึงชวนดู 6 ทริคง่ายๆ ที่ช่วยให้เหล่าฟรีแลนซ์คลายความกังวลเรื่องกู้ซื้อบ้านไปได้

     

    6 ทริคยื่นกู้ซื้อบ้านฉบับฟรีแลนซ์ยังไงให้ผ่านฉลุย

    1. มีรายการเข้า-ออกของรายได้ที่ชัดเจนและแน่นอน

    ฟรีแลนซ์กู้บ้าน

     

    สิ่งที่เจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารต้องถามถึงคือเรื่องรายได้ สำหรับใครที่ทำงานฟรีแลนซ์ควรออกแบบรายได้ให้สวยงาม และแน่นอน มีความสม่ำเสมอของการเดินบัญชี ทั้งรายการเงินเข้าและออก หรือสร้าง Statement ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เพราะแต่ละธนาคารมักจะขอดู รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6-12 เดือน 

     

    2. เตรียมเอกสารให้ครบ

    พวกงานเอกสารเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่สามารถยื่นเป็นหลักฐานได้ว่าเรามีรายได้เข้า-ออกอย่างแน่นอน เพื่อให้ธนาคารสามารถวางใจได้ว่าสามารถปล่อยกู้ให้เราได้ โดยเอกสารที่ควรต้องเตรียม มีดังนี้

     

    • หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

    เป็นเอกสารชิ้นสำคัญ เพราะหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิ เป็นเอกสารที่ชาวฟรีแลนซ์มักได้รับหลังจากได้ค่าตอบแทน ซึ่งนอกจากจะต้องเก็บไว้เป็นเอกสารในการยื่นภาษีแล้ว ยังต้องนำ 50 ทวิมาใช้เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารอีกด้วย

     

    • หลักฐานการเสียภาษี

    ในช่วงต้นปี ทุกคนที่ถือว่าเป็นบุคคลมีรายได้จะเตรียมตัวยื่นภาษีกับกรมสรรพากร  เอกสาร ภงด. 90 จึงถือว่าเป็นหนึ่งในหลักฐานการแสดงรายได้ทั้งปีของมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ต้องใช้เพื่อกู้เงิน

     

    • ประวัติเครดิตบูโร

    ในสังคมตอนนี้ที่ทุกคนใช้ระบบจ่ายแบบ iBanking หรือผูกบัตรเครดิตไปกับแอปพลิเคชันต่างๆ คืออีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงออกถึงความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ของผู้กู้ เพราะหากมีประวัติการผ่อน ชำระตรงต่อเวลา การสร้างความเชื่อมั่นและอนุมัติวงเงินกู้นั้นก็มีความเป็นไปได้สูง เช่นเดียวกัน หากเรามีประวัติชำระหนี้ไม่ตรงเวลา ก็อาจทำให้ความน่าเชื่อถือของเราลดลงด้วยเช่นกัน

     

    • บัญชีเงินออม

    หลักฐานชิ้นนี้สามารถสร้างความมั่นใจให้กับธนาคารได้ เพราะช่วยแสดงศักยภาพและความมีวินัยด้านการเงิน ดังนั้นผู้กู้ที่ประกอบอาชีพอิสระต่างๆ จึงควรเปิดบัญชีสำหรับการออมอีกหนึ่งบัญชี และควรออมเงินอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือน ก่อนทำการขอกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร

     

    • ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์

    สำหรับพ่อค้าแม่ค้า สามารถเก็บเอกสารชิ้นนี้ไว้เป็นหลักฐานได้ เหมาะกับกลุ่มนักธุรกิจ SME ที่ได้จดทะเบียนการค้า และทะเบียนพาณิชย์ 

     

    3. กู้เดี่ยวไม่ไหว กู้ร่วมเวิร์กกว่า

    ฟรีแลนซ์อยากกู้ซื้อบ้าน

     

    หากฟรีแลนซ์คนไหนอยากกู้ซื้อบ้าน แต่กู้คนเดียวอาจจะไม่เวิร์ก ด้วยเรื่องของเงิน ระยะเวลาในการกู้ หรือปัจจัยอื่น อีกหนึ่งทางเลือกคือการหาผู้กู้ร่วมในเครือญาติ หรือสามีภรรยามาร่วมรับภาระผ่อนวงเงินกู้ด้วยกัน ซึ่งสำหรับฟรีแลนซ์จะขอกู้ร่วมจำเป็นต้องมีเอกสารแสดงรายได้ที่ชัดเจน

     

    4. จ่ายภาษีและยื่นแบบให้ครบถ้วนทุกปี

    เอกสารกู้ซื้อบ้าน

     

    อย่างที่บอกว่าหนึ่งในเอกสารสำคัญคือเอกสารยื่นภาษี นั่นหมายถึงว่า การจ่ายภาษีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าเราจะมีรายได้มากหรือน้อยก็ตาม ทุก ๆ ปีเราต้องยื่นแบบภาษีภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด เมื่อยื่นแบบภาษีแล้วก็จะได้รับเอกสาร ภ.ง.ด.90 และใบเสร็จ โดยทั้งหมดนี้ควรเก็บย้อนหลังนาน 2-3 ปี เป็นอย่างน้อย เพื่อความน่าเชื่อถือของเรา สำหรับการยื่นภาษีสามารถทำได้ 2 วิธี คือ ยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ด้วยตัวเอง ที่สำนักงานกรมสรรพากรในจังหวัดที่เราอยู่ หรือยื่นออนไลน์ในเว็บไซต์กรมสรรพากร พร้อมชำระภาษีผ่านช่องทางต่างๆ

     

    5. ไม่มีหนี้สิน ไม่ติดเครดิตบูโร

    ก่อนจะปล่อยให้กู้ได้เจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารจะขอให้เราเซ็นยินยอม สำหรับการตรวจสอบประวัติทางธุรกรรมไม่ว่าจะเป็น ประวัติธุรกรรมด้านการผ่อนจ่ายบัตรเครดิต ผ่อนรถ ผ่อนสินค้า บัตรกดเงินสด หรือรายการทำธุรกรรมต่าง ๆ จาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เพื่อเป็นการเช็กเครดิตของเราว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นหากเรามีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ดี ไม่มีหนี้สินก็จะทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ ของเราสะดวกยิ่งขึ้น

     

    6. เลือกโครงการบ้านที่ไว้ใจได้และน่าเชื่อถือ

    ฟรีแลนซ์ลงทุนซื้อบ้าน

     

    อีกเรื่องที่สำคัญคือการเลือกโครงการบ้านที่จะกู้ เพราะการลงทุนเรื่องบ้านถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องตัดสินใจคิดอย่างถี่ถ้วน การเลือกโครงการที่ดีควรเลือกที่โครงการใหญ่ มีการรับรองตามมาตรฐาน มีการดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ ก็จะมีส่วนช่วยให้สินเชื่อพิจารณาให้เข้าร่วมกู้ซื้อบ้านกับโครงการนั้นๆ ได้

     

    ฟรีแลนซ์อยากกู้ซื้อบ้านที่ตอบโจทย์ คุ้มค่าแก่การลงทุน ให้เอพีเป็นคำตอบ 

    สำหรับอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่กำลังคิดเรื่องการซื้อบ้าน หากอยากได้บ้านที่ตอบโจทย์ที่สามารถรองรับทุกความต้องการของการอยู่อาศัย พร้อมปรับเปลี่ยนให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ เติมเต็มความสุขให้คุณและคนที่คุณรักได้มากกว่าเดิมด้วยโครงการบ้านจากเอพี สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการ รวมถึงโครงการอื่นๆ ได้ที่เว็บไซต์ AP Thai 

     

    เอพี ไทยแลนด์ เติมเต็มเป้าหมาย ชีวิตดี ๆ ในพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเองได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมหรือบ้านแฝดดีไซน์สวย คอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย และโฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋งที่รองรับทุกธุรกิจ สามารถเลือกให้ตอบโจทย์ได้เลย เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย

     

     

    EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ

    RELATED ARTICLES