การวางแผนการใช้จ่ายในบ้านอย่างไร ให้มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือน

KNOW HOW · FINANCIAL

การวางแผนการใช้จ่ายในบ้านอย่างไร ให้มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือน

29 Sep 2022

แชร์ไปยัง

การวางแผนการใช้จ่ายเป็นเรื่องที่สำคัญ และสามารถส่งผลต่อชีวิตของเราในระยะยาวได้ ในช่วงเวลาที่ยังทำงานได้อยู่นั้นความต่างระหว่างคนที่วางแผน หรือไม่วางแผนก็จะไม่ต่างกันมาก แต่เมื่อถึงวันที่เกษียณแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม คนที่ไม่วางแผนการเงินไว้จะลำบากกว่ามาก ดังนั้น โดยในบทความนี้จะมาแนะนำการใช้สูตร 50:30:20 ซึ่งเป็นสูตรการจัดการเงินที่เหมาะสำหรับวัยทำงานให้ได้รู้จักกัน โดยที่ตัวเลขแต่ละตัวนั้นของสูตรนั้นแทน “ค่าใช้จ่ายจำเป็น:ค่าใช้จ่ายเพื่อความสุข:เงินแบ่งเก็บ” ตามลำดับ โดยการจะทำสูตรนี้ได้นั้นจะต้องหาว่าค่าใช้จ่ายประจำมีอะไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้ก็มาเสนอวิธีหาค่าใช้จ่ายให้ด้วยเช่นกัน

 

ถึงแม้บทความนี้จะไม่พูดถึงสูตรอื่นๆ แต่ก็มียังมีสูตรอื่นๆ อยู่เช่นกัน โดยแต่ละสูตรก็มีความเหมาะสมกับกลุ่มคนแตกต่างกันไป เช่น ในช่วงวัยรุ่นที่อายุยังน้อย รายได้ต่ำก็ใช้สูตร 60:25:15 ส่วนผู้สูงอายุ ช่วงใกล้เกษียณใช้สูตร 45:25:30 เพราะไม่มีงานหรือแรงมาขวนขวายหาเงินได้มากเท่าเดิมแล้ว

 

ใช้สูตรการวางแผนการใช้จ่ายแบบ 50:30:20

ใช้สูตรการวางแผนการใช้จ่ายแบบ 50:30:20

สูตรการวางแผนการใช้จ่ายแบบ 50:30:20 นั้นเป็นสูตรที่ค่อนข้างเหมาะสมกับวัยทำงานที่ยังสามารถหาเงินเองได้ จึงสามารถแบ่งเงินเก็บไปใช้เพื่อช็อปปิง หรือแก้เครียดได้มากกว่าสูตรอื่นๆ ซึ่งการแบ่งเงินมาใช้กับความสุขนั้นไม่อยากให้ทุกคนคิดว่าสิ้นเปลืองเสมอไป เพราะถ้าหากชีวิตไม่มีความสุขระหว่างทางก็อาจทำให้เรารู้สึกท้อแท้ในการใช้ชีวิตได้ โดยสูตรการวางแผนการใช้จ่ายแบบ 50:30:20 นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

แบ่งสำหรับใช้จ่ายจำเป็น 50%

เงินส่วนนี้จะเป็นเงินส่วนที่แบ่งออกมาจากรายได้มากที่สุด เพราว่าต้องนำเงินนั้นไปจ่ายสิ่งที่จำเป็นหลายอย่าง หรือค่าใช้จ่ายประจำเดือนของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายประจำของแต่ละคนมีอะไรบ้างนั้นสามารถดูตามนี้ได้ เช่น

  • ค่าเดินทางไป-กลับแต่ในละวันของเดือน หรือค่าผ่อนรถ
  • ค่าเช่าบ้าน หรือค่าผ่อนบ้าน
  • ค่าน้ำ และค่าไฟ
  • ค่าอาหารในแต่ละวัน หรือแต่ละเดือน
  • หนี้สินต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ต่อเดือน

ค่าใช้จ่ายเพื่อความสุข 30%

การวางแผนการใช้จ่ายในส่วน 30% นั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับสิ่งที่ต้องการ หรือเป็นการเติมเต็มความสุขให้กับชีวิต โดยเงินส่วนนี้มีความสำคัญต่อสุขภาพจิตของเราเป็นอย่างมาก และสำหรับหลายๆ คนนั้นเงินส่วนนี้ยังเป็นเงินที่นำไปใช้กับการเที่ยวกับเพื่อน คนรัก และครอบครัว ซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตสังคมเช่นกัน และตัวอย่างของค่าใช้จ่ายเพื่อความสุขนั้นมีดังนี้

  • ค่าอาหารที่แพงกว่าปกติก็สามารถเอาจากส่วนนี้ไปบวกได้
  • ของใช้ หรือสิ่งของที่อยากได้
  • งานอดิเรก หรือของเก็บสะสม
  • ไปท่องเที่ยวกับเพื่อน คนรัก หรือครอบครัว

แบ่งเก็บ 20% ก่อนที่จะใช้หมด

การมีเงินเก็บ หรือเงินออมเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต โดยการแบ่งเก็บ 20% ตามสูตรการวางแผนการใช้จ่าย ซึ่งเงินส่วนนี้จะสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย เช่น

  • เงินออมฉุกเฉิน เป็นเงินที่มีไว้ใช้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นเวลาเกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น
  • เงินใช้หลังเกษียณ เป็นเงินเก็บที่เตรียมไว้ใช้ในยามที่เกษียณจากงานแล้ว
  • เงินเพื่อลงทุน เป็นอีกตัวเลือกที่ดีกว่าการเก็บเงินไว้เฉยๆ โดยการลงทุนที่เป็นในรูปแบบ Passive Income จะเป็นการเพิ่มเงินโดยที่ไม่ต้องเพิ่มงานมากขึ้น

 

ขั้นตอนการวางแผนการเงินให้เห็นผล

ขั้นตอนการวางแผนการเงินให้เห็นผล

สำหรับขั้นตอนการวางแผนการเงินให้เห็นผลนั้นจะต้องพึ่งปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกแผนการเงินที่เหมาะสมกับตัวเอง หรือการจัดทำแผนการเงิน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำตามแผนได้จริง และเห็นผลได้ชัดเจน โดยรายละเอียดขั้นตอนการวางแผนการใช้จ่ายนั้นมีทั้งหมด ดังนี้

เลือกแผนการเงินที่เหมาะกับเรา

จุดเริ่มต้นของการวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะกับตัวเอง คือ การประเมินจากสถานะทางการเงินของตัวเองว่าตอนนี้ค่าใช้จ่ายประจำมีอะไรบ้าง มีหนี้สินที่ต้องใช้เท่าไหร่ และมีรายได้เท่าไหร่ ซึ่งการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายจะสามารถช่วยให้ประเมินสถานะทางการเงินของตัวเองได้ง่ายขึ้น

 

จัดทำแผนการเงิน

จัดทำแผนการเงิน

หลังจากเลือกแผนการเงินที่เหมาะกับตัวเองได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การวางแผนการใช้จ่าย หรือการจัดทำแผนการเงินนั่นเอง ซึ่งการจัดทำแผนการเงินนั้นสามารถทำให้สภาพการเงินของเรามีความคล่องขึ้น เช่น มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่สามารถลด หรือควรบวกเพิ่ม เพื่อทำให้การใช้ชีวิตเป็นไปได้อย่างสะดวก หรือว่ามีรายได้ใดบ้างที่สามารถหาเพิ่ม หรือทำให้มีประสิทธิภาพต่อเวลาที่เสียไปได้มากขึ้น หรือสามารถลงทุนที่ไหนได้บ้าง แต่ว่าทุกอย่างที่ทำไปนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานที่เป็นไปได้ และไม่ก่อให้เกิดความกดดันกับตัวเองมากเกินไป

ทำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด

สิ่งที่สำคัญที่สุดหลังจากจัดการวางแผนการใช้จ่ายสำเร็จแล้ว คือ การทำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าหากขาดการปฏิบัติที่จริงจัง และต่อเนื่อง ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายได้ โดยหลายๆ ครั้งทุกคนอาจจะท้อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ แต่ว่าให้ย้ำเตือนตัวเองเสมอว่าเราทำแผนการเงินเช่นนี้ไปเพื่ออะไร เช่น เพื่อที่จะเก็บเงินแต่งงาน เพื่อจะมีชีวิตตอนเกษียณที่ไม่ลำบาก และไม่ต้องการคนอื่นดูแล หรือเพื่อที่จะมีเงินเหลือมาเที่ยว และใช้จ่ายได้ตามใจชอบ ดังนั้น การนึกถึงแต่เป้าหมายที่ดี และชัดเจนจะช่วยมอบพลังให้เราฝ่าความท้อนั้นไปได้

 

เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยให้การวางแผนการใช้จ่ายง่ายขึ้น

เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยให้การวางแผนการใช้จ่ายง่ายขึ้น

การวางแผนการใช้จ่ายนั้นมีความยากอยู่หลายอย่าง แต่ถ้าหากรู้ถึงเคล็ดลับการวางแผนการใช้จ่ายก็จะช่วยให้สามารถวางแผนได้ง่ายขึ้น โดยเทคนิคที่จะช่วยให้ทุกคนวางแผนการเงินง่ายขึ้น มีดังนี้

เก็บก่อนใช้เสมอ

การเก็บเงินก่อนใช้เสมอ เป็นวิธีการวางแผนการใช้จ่ายที่จะเป็นการเก็บเงินส่วนหนึ่งก่อนจะนำเงินที่เหลือไปใช้ เพราะว่าการเก็บเงินก่อนใช้นั้นจะทำให้เรามีเงินใช้ในยามฉุกเฉิน หรือเวลาที่จำเป็นได้ เพราะสิ่งที่เรียกว่าค่าใช้จ่ายฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ การมีเงินเก็บจะทำให้เราสามารถผ่านเหตุการณ์นั้นไปได้ง่าย และรวดเร็ว ซึ่งหลายครั้งค่าใช้จ่ายฉุกเฉินก็จะเป็นสิ่งที่ยิ่งปล่อยไว้ยิ่งมีปัญหาเพิ่มขึ้น เช่น การบาดเจ็บหรือป่วย อุปกรณ์ ของใช้ หรือที่อยู่อาศัยเกิดความเสียหาย หรือ อุบัติเหตุ ดังนั้น การเก็บเงินอยู่เสมอจึงเป็นเส้นทางที่ปลอดภัยและประหยัดในระยะยาวกว่ามาก

ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายนั้นเป็นการวางแผนการใช้จ่ายที่จะช่วยให้ทุกคนเห็นการใช้เงินทั้งหมด และจะช่วยให้ทุกคนสามารถสังเกตถึงค่าใช้จ่ายประจำของเราได้ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้จัดการวางแผนการเงินให้ดี และถ้าหากมีปัญหาเรื่องการเงินก็จะทำให้เรารู้ได้ว่าควรจะปรับปรุงตรงไหน และจะได้ปรับแผนใหม่ได้อย่างถูกต้อง

 

เก็บบิลใบเสร็จทุกครั้ง

เก็บบิลใบเสร็จทุกครั้ง

การเก็บบิลใบเสร็จทุกครั้งนั้นควรทำให้เป็นนิสัย เพราะนอกจากจะช่วยให้สามารถติดตามรายจ่ายได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการยืนยันการซื้อสินค้า หรือรับบริการได้อีกด้วย ถ้าหากเกิดของที่ซื้อมามีการชำรุดก็จะสามารถนำไปเปลี่ยน หรือซ่อมแซมได้ รวมถึงผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัว การเก็บบิลก็จะช่วยเป็นหลักฐานเวลาเกิดข้อพิพาททางการเงินขึ้นได้ด้วย จึงทำให้เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย

วางแผนการเงินในแต่ละเดือน

การวางแผนการใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นควรวางแผนคร่าวๆ ว่าเดือนนี้จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ และจะต้องใช้ทำอะไรบ้าง เพราะในแต่ละเดือนนั้นอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การวางแผนล่วงหน้าจะเป็นการทบทวนตัวเอง และเป็นการเปิดโอกาสให้สังเกตตัวเองด้วยว่าควรปรับเปลี่ยนแผนการเงินส่วนไหนหรือไม่

ทบทวนแผนการเงินเป็นประจำ

การทบทวนแผนการเงินเป็นประจำนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะว่าสามารถช่วยให้ทุกคนนั้นปรับแผนการเงินให้เหมาะสมกับตัวเองมากขึ้น โดยในบางช่วงของปีทุกคนอาจจะมีเงินเก็บออมน้อยลง เพื่อใช้เงินไปกับเรื่องอื่นมากขึ้น เช่น ช่วงเทศกาล ดังนั้น การทบทวน และการปรับวางแผนการใช้จ่ายอยู่เสมอจะช่วยให้สังเกตเห็นช่องทางที่จะปรับปรุงแผนการเงินให้ดีขึ้นได้อยู่เรื่อยๆ เสมอ

 

การวางแผนการเงินเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการวางแผนให้รัดกุม โดยเริ่มจากการวางแผนการใช้จ่ายประจำเดือนว่าค่าใช้จ่ายประจำนั้นมีอะไรบ้าง และจึงค่อยแบ่งให้เป็นสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนสำหรับแบ่งจ่ายรายเดือน แบ่งเก็บส่วนหนึ่ง และส่วนที่สำหรับใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง ซึ่งแผนการเงินนั้นสามารถปรับให้เหมาะสมกับตัวเองได้ ที่สำคัญควรทบทวนแผนการเงินเป็นประจำ หากมีส่วนใดที่ไม่สามารถทำได้จริง หรือไม่ได้ผล ให้รีบปรับแก้แผนทันที แต่สำหรับลูกบ้าน AP Thai ที่ต้องชำระค่างวดของโครงการต่างๆ เช่น บ้าน ทาวน์โฮม หรือคอนโด ก็สามารถดาวน์โหลด AP EASY เป็นแอปฯ เดียวที่ให้ลูกบ้าน เช็ค อัปเดตข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือจ่ายงวดโครงการที่ซื้อง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว ช่วยให้สามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างไร้กังวล!

โปรแกรมคำนวณผ่อนบ้าน คอนโด สินเชื่อเบื้องต้น

คำนวณสินเชื่อบ้าน/คอนโด พร้อมแนะนำโครงการบ้านและคอนโดที่ตรงใจคุณ!
คำนวณสินเชื่อบ้านและคอนโดเบื้องต้นได้ง่ายๆ รู้ทันทีว่ากู้ได้เท่าไหร่
ผ่อนเดือนละเท่าไหร่ อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย

คำนวณเบื้องต้น

*อายุต้องอยู่ระหว่าง 20 ปี - 64 ปี

ผลลัพธ์ของฉัน

ธนาคารอัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน 0%
ระยะเวลากู้0ปี
ยอดผ่อนชำระต่อเดือน0บาท
วงเงินกู้สูงสุด0บาท

*อัตราดอกเบี้ยอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขแต่ละธนาคาร |*ผลจากการคำนวณดังกล่าวเป็นเพียงคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น