KNOW HOW
  • FINANCIAL

ผ่อนบ้านหมดแล้วต้อง ‘ไถ่ถอนจํานอง’ ทำยังไง? ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

หลังผ่อนบ้านหมดอย่าลืมไปไถ่ถอนจำนองเพื่อให้บ้านเป็นของเราอย่างแท้จริง เอพีเปิดตัวช่วยเตรียมเอกสาร ค่าใช้จ่าย และขั้นตอนการไถ่ถอนจำนอง ง่ายๆ ไม่กี่สเต็ป

AP THAILAND

AP THAILAND

‘ไถ่ถอนจํานอง’ ทำยังไง?

MAIN POINT 

 

  • การไถ่ถอนจำนองเกิดขึ้นเมื่อผ่อนบ้านหรือชำระหนี้ได้ก่อนหมดเวลาที่กำหนด และต้องการไถ่ถอนจำนองเพื่อให้ย้ายชื่อกลับมาเป็นชื่อของเรา ซึ่งนั่นหมายถึงเราจะได้เป็นเจ้าของบ้านอย่างเต็มตัวแล้วนั่นเอง 
  • เอกสารสำคัญในการไถ่ถอนจำนอง เช่น หลักฐานสัญญาจำนองที่ทำเป็นหนังสือระหว่างผู้จำนอง และผู้รับจำนอง เอกสารบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ต้องรู้ เช่น ค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท และค่าคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท

 

ผ่อนบ้านหมดแล้วต้อง ‘ไถ่ถอนจํานอง’ ทำยังไง? ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

 

การไถ่ถอนจำนองเกิดขึ้นเมื่อผ่อนบ้านหรือชำระหนี้ได้ก่อนหมดเวลาที่กำหนด และต้องการไถ่ถอนจำนองเพื่อให้ย้ายชื่อกลับมาเป็นชื่อของเรา ซึ่งนั่นหมายถึงเราจะได้เป็นเจ้าของบ้านอย่างเต็มตัว หลายๆ คนที่กำลังคิดอยู่ว่าจะต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง ต้องทำตามขั้นตอนอย่างไร วันนี้เอพีมาไขข้อสงสัย ไม่ว่าจะเรื่องการไถ่ถอนจำนองต้องทำยังไงบ้าง มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องเตรียมเพื่อให้ทุกคนสามารถไปขอไถ่ถอนได้ง่ายขึ้น 

 

ไถ่ถอนจำนองคืออะไร

 

การไถ่ถอนจำนองจะเกิดขึ้นในกรณีที่  เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองสินทรัพย์ไว้เป็นหลักค้ำประกันในการชำระหนี้ โดยต่อมาได้ทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว เพื่อให้การจำนองต้องระงับตามผลของกฎหมาย โดยตั้งแต่แรกเลยที่การดำเนินการทำธุรกรรมจำนองที่ถูกต้อง ต้องดำเนินการต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนจำนองด้านหลังโฉนดตรงสารบัญจดทะเบียนว่าได้มีการจดทะเบียนเมื่อไร ใครเป็นผู้จำนอง และใครเป็นผู้รับจำนอง ดังนั้นเมื่อมีการชำระหนี้หมดแล้วจึงต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง  ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อแก้ไขเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนอง หรือการปลอดจำนองแล้วนั่นเอง

 

วิธีการไถ่ถอนจำนองสามารถทำได้ 2 รูปแบบ

1.ผู้จำนอง และผู้รับจำนอง ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน ด้วยกัน

2.ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียวไปที่สำนักงานที่ดิน พร้อมนำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาจำนองฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว และมีการชำระหนี้ครบแล้ว เพื่อไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน

 

เตรียมตัวยังไง ต้องพกเอกสารอะไรไปบ้าง

 

ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจำเป็นต้องนำเอกสารขายฝากที่ดิน เพื่อเป็นหลักฐานไปยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วน เช่น สำเนาสัญญาขายฝาก บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงและสำเนา) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน นอกจากนั้นแล้วยังมีเอกสารอื่นๆ ที่ควรเตรียมให้ครบถ้วน ดังนี้ 

  • หลักฐานสัญญาจำนองที่ทำเป็นหนังสือระหว่างผู้จำนอง และผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำการชำระสินไถ่แล้วเรียบร้อย และยินยอมให้ไถ่ถอนจำนองได้
  • หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (หนังสือรับรองการทำประโยชน์) หรือ หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน (โฉนดที่ดิน) หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด
  • เอกสารบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน โดยต้องนำไปทั้งเอกสารฉบับจริงและสำเนาเอกสาร
  • เงินต้นและสินไถ่ ให้เตรียมเงินส่วนนี้ไปเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเท่านั้นเพื่อชำระต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน
  • หนังสือมอบอำนาจ ท.ด.๒๑ ในกรณีที่ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง

 

ค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนจำนอง 

 

นอกจากเรื่องของเอกสารที่ต้องเตรียมไปแล้ว ยังต้องมีส่วนของค่าใช้จ่ายยิบย่อยต่างๆ ที่ควรรู้ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถเตรียมตัวไปได้ถูก โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ ของการไถ่ถอนจำนองมีตามนี้ 

  • ค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท 
  • กรณีมอบอำนาจ ค่ามอบอำนาจ 20 บาท ต่อ 1 คน
  • ค่าคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมินหรือยอดสินไถ่

 

ขั้นตอนในการไถ่ถอนจำนองทำอย่างไร

 

 

1. รับโฉนดที่ดินและบ้านจากธนาคาร

หลังจากผ่อนบ้านจนครบยอดชำระตามสัญญาเงินกู้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการรอรับโฉนดที่ดินและบ้านจากธนาคารที่เราทำผ่อนบ้านกับธนาคาร โดยทางธนาคารจะส่งใบแจ้งหรือติดต่อมา เพื่อให้เราไปติดต่อขอรับโฉนดที่ดิน (ฉบับเจ้าของที่ดิน), หนังสือสัญญาจำนองที่ดิน (ฉบับผู้รับจำนอง) ที่สลักหลังสัญญาให้ไถ่ถอนจำนองได้พร้อมกับดำเนินการด้านเอกสารใบมอบอำนาจการโอนเพื่อเป็นหลักฐานว่า เราได้ทำการผ่อนบ้านจนครบกำหนดเรียบร้อย

 

2. ติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อรับโฉนดคืน

เมื่อได้รับเอกสารการมอบอำนาจการโอนและโฉนด เป็นหลักฐานแสดงว่าเราผ่อนบ้านจนหมดจากธนาคารแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือติดต่อสำนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับภูมิลำเนาที่เราอาศัยอยู่ เราต้องทำขั้นตอนนี้ตามกฏหมายเพื่อแสดงเป็นหลักฐานว่าเราผ่อนบ้านครบกำหนดและโฉนดนี้หลุดจำนองแล้ว เพื่อให้ชื่อของเจ้าของบ้านในโฉนดที่ดินและบ้าน จะถูกเปลี่ยนมาเป็นชื่อของเรา

 

3.ติดต่อสำนักงานที่ดินทำเรื่องการไถ่ถอน 

เมื่อเตรียมเอกสารทั้ง โฉนดที่ดิน ฉบับเจ้าของที่ดิน, หนังสือสัญญาจำนองที่ดินฉบับผู้รับจำนอง ที่สลักหลังสัญญาให้ไถ่ถอนจำนองได้ และเอกสารอื่นๆ ตามด้านบน เพื่อไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินโดยทำเรื่องของการไถ่ถอนโฉนด เจ้าหน้าที่จะขอเอกสารทั้งหมดที่เราเตรียมมา หลังจากนั้นให้เราชำระค่าธรรมเนียม เมื่อชำระค่าธรรมเนียมเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จการจ่ายเงินให้ โดยเราสามารถนำใบเสร็จนี้ไปยื่นเพื่อรอรับโฉนดที่ดิน โดยขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงครึ่งวัน หลังจากนั้นบ้านก็จะกลายเป็นของเราอย่างสมบูรณ์

 

ไถ่ถอนจำนองไม่ใช่เรื่องไกลตัว คนผ่อนบ้านต้องรู้ไว้

การไถ่ถอนจำนองอาจดูเป็นเรื่องที่วุ่นวายสักเล็กน้อย แต่เป็นการทำเพื่อให้บ้านได้เป็นชื่อของเราอย่างเต็มตัว และถือว่าเป็นการหมดภาระหนี้สิน พร้อมอยู่อาศัยในบ้านของเราได้อย่างสบายใจมากขึ้น เอพีขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ และแสดงความยินดีกับคนที่อยู่ในขั้นตอนการเตรียมตัวไถ่ถอนจำนอง และมีความสุขกับการพักอาศัยในบ้านของเราอย่างเต็มตัว 

 

เอพี ไทยแลนด์ เติมเต็มเป้าหมาย ชีวิตดี ๆ ในพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเองได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมหรือบ้านแฝดดีไซน์สวย คอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย และโฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋ง รองรับทุกธุรกิจ ก็เลือกให้ตอบโจทย์ได้เลย เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย

 

 

EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ

RELATED ARTICLES