ค่าส่วนกลางคอนโดคืออะไร จ่ายเท่าไหร่ ซื้อคอนโดใหม่ต้องรู้!

KNOW HOW · FINANCIAL

ค่าส่วนกลางคอนโดคืออะไร จ่ายเท่าไหร่ ซื้อคอนโดใหม่ต้องรู้!

28 Jun 2025

แชร์ไปยัง

MAIN POINT

 

  • ค่าส่วนกลางคอนโด คือ ค่าใช้จ่ายที่ผู้อยู่อาศัยต้องจ่ายให้กับนิติบุคคล เพื่อนำไปดูแลรักษาและบริหารจัดการงานต่าง ๆ ภายในโครงการ ซึ่งจะถูกเรียกเก็บจากลูกบ้านทุกคน โดยคำนวณตามสัดส่วนการถือครองพื้นที่
  • การคิดค่าส่วนกลางคอนโดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจำนวนยูนิต ขนาดพื้นที่ใช้สอย สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน ค่าดูแลรักษาซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ

 

 

ค่าส่วนกลาง ค่าใช้จ่ายสำคัญที่นำไปดูแลรักษาและบริหารจัดการงานต่าง ๆ ภายในโครงการ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สวนหย่อม Co-Working Space รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยและการดูแลด้านความสะอาด ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดการอยู่อาศัย AP Thai จะพาไปทำความรู้จักกับค่าส่วนกลางคอนโดอย่างครบถ้วน รวมถึงวิธีคำนวณว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ และเรื่องน่ารู้ที่ควรทราบ เพื่อสามารถตัดสินใจซื้อคอนโดได้อย่างมั่นใจและเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนการเงินในอนาคต

ค่าส่วนกลางคืออะไร?

THE CO-OP SOCIETY พื้นที่ส่วนกลางคอนโด

 

ค่าส่วนกลาง (Common Fee) คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของห้องหรือผู้อยู่อาศัยต้องจ่ายให้กับนิติบุคคล เพื่อนำไปดูแลและบริหารจัดการงานต่าง ๆ ภายในโครงการคอนโดมิเนียม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สวนสาธารณะ ห้องประชุม Co-Working Space รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยและการทำความสะอาด ซึ่งจะถูกเรียกเก็บจากลูกบ้านทุกคน โดยคำนวณเฉลี่ยตามสัดส่วนการถือครองพื้นที่ ตามปกติจะเริ่มต้นประมาณ 30-170 บาท/ตารางเมตร*

7 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อค่าส่วนกลางคอนโด

คอนโดมิเนียมจำนวนยูนิตน้อย

1. จำนวนยูนิต

โดยปกติแล้วโครงการคอนโดที่มีจำนวนยูนิตมาก ค่าส่วนกลางจะยิ่งถูกลง เพราะค่าใช้จ่ายทั้งหมดถูกแบ่งกระจายกันไปตามจำนวนผู้อยู่อาศัย หากมีจำนวนยูนิตน้อย ค่าส่วนกลางจะมีราคาสูง แต่ทั้งนี้บางโครงการคอนโดขนาดใหญ่ที่มีจำนวนยูนิตมากก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโดยรวมที่สูงกว่า ดังนั้นแล้วการคิดค่าส่วนกลาง ต้องคำนึงถึงทั้งจำนวนยูนิตและปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกัน

2. ขนาดพื้นที่ใช้สอยของยูนิต

ค่าส่วนกลางคอนโดถูกคิดตามสัดส่วนการถือครองพื้นที่ หรือคำนวณจากขนาดตารางเมตร ดังนั้นหากเลือกซื้อคอนโดในห้องที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยมาก ก็จะส่งผลให้ค่าส่วนกลางคอนโดสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

 

พื้นที่ใช้สอยภายในห้องคอนโดมิเนียม

3. สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ

โครงการคอนโดที่ออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก อาทิ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สวนสาธาณะ สกายเลาจน์ ห้องประชุม Co-Working Space รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น กล้องวงจรปิด คีย์การ์ด สแกนหน้าหรือลายนิ้วมือ ซึ่งล้วนมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ปรับปรุง และดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งาน พร้อมตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้อย่างลงตัว

4. ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน

ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบลิฟต์ ระบบรักษาความปลอดภัย ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ สำหรับการใช้งานในพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งส่งผลให้ลูกบ้านใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ส่งผลต่อค่าส่วนกลางคอนโดเช่นเดียวกัน

 

สระว่ายน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกบนพื้นที่ส่วนกลางคอนโด

5. ค่าดูแลรักษาและซ่อมบำรุง

ค่าดูแลรักษาและซ่อมบำรุง เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้พื้นที่ส่วนกลางอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ครอบคลุมทั้งการซ่อมแซมระบบไฟฟ้า ประปา ลิฟต์ โครงสร้างอาคาร การทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ดูแลสวนสีเขียว หรือบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ดูดีและทันสมัย ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานของลูกบ้านในระยะยาว

6. ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ

อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าส่วนกลางคอนโด คือค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพ อาทิ ค่าบริษัทนิติบุคคล ค่าเงินเดือนบุคลากร ทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานบัญชี พนักงานธุรการ พนักงานทำความสะอาด ช่างซ่อมบำรุง ดังนั้นยิ่งโครงการคอนโดที่มีขนาดใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการก็จะสูงเช่นกัน

7. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดที่มีผลต่อค่าส่วนกลางคอนโด เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม หรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นอื่น ๆ ที่ควรเตรียมไว้ให้พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์

วิธีการคำนวณค่าส่วนกลางคอนโด

ารคำนวณค่าส่วนกลางคอนโด

 

วิธีการคิดค่าส่วนกลางคอนโดง่าย ๆ โดยคำนวณเฉลี่ยตามสัดส่วนการถือครองพื้นที่ เพียงนำขนาดห้อง (ตร.ม.) มาคูณกับราคาต่อหน่วยพื้นที่ (บาท/ตร.ม.) จะได้ค่าส่วนกลางคอนโดที่เราต้องจ่ายเป็นรายเดือน/รายปี

 

ตัวอย่างที่ 1 นาย A ซื้อคอนโดมิเนียมในรูปแบบ 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ขนาด 57 ตร.ม. พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน หากโครงการคิดค่าส่วนกลาง 62 บาท/ตร.ม. จะสามารถคำนวณได้เป็น 57 x 62 = 3,534 บาท/เดือน หรือ 42,408 บาท/ปี

 

ตัวอย่างที่ 2 นาย B ซื้อคอนโดมิเนียมในรูปแบบ 1 ห้องนอน ขนาด 26 ตร.ม. พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน หากโครงการคิดค่าส่วนกลาง 36 บาท/ตร.ม. จะสามารถคำนวณได้เป็น 26 x 36 = 936 บาท/เดือน หรือ 11,232 บาท/ปี

รวมคำถามน่ารู้เกี่ยวกับค่าส่วนกลางคอนโด

การจ่ายค่าส่วนกลางคอนโด

1. เริ่มคิดค่าส่วนกลางคอนโดเมื่อไหร่ ต้องจ่ายตอนไหน?

ค่าส่วนกลางคอนโดจะเริ่มคิดและเรียกเก็บเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้กับผู้ซื้อ โดยมักเรียกเก็บเป็นรอบ เช่น รายเดือน, 3 เดือน, 6 เดือน หรือรายปี ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโครงการ ซึ่งบางแห่งอาจเรียกเก็บล่วงหน้า 1-2 ปี นับตั้งแต่วันโอนกรรมสิทธิ์ หรืออาจมีโปรโมชันฟรีค่าส่วนให้ในช่วงแรก ผู้ซื้อควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละโครงการอย่างรอบคอบ

2. ค่าส่วนกลางคอนโดมีโอกาสปรับขึ้นได้ไหม?

ค่าส่วนกลางคอนโดสามารถปรับขึ้นได้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนกลางต้องมีการบำรุงรักษาตามอายุการใช้งาน โดยส่วนใหญ่จะคงที่อยู่ประมาณ 3-5 ปี ทั้งนี้การพิจารณาปรับขึ้นค่าส่วนกลาง จะต้องจัดประชุมเพื่อลงประชามติ โดยต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด หากครั้งแรกมติไม่ผ่าน สามารถเรียกประชุมครั้งที่ 2 ภายใน 15 วันได้ และต้องได้คะแนนรับรอง 1 ใน 3 จึงจะสามารถปรับขึ้นค่าส่วนกลางได้

3. ขอปรับลดค่าส่วนกลางคอนโดได้ไหม?

สามารถขอปรับลดค่าส่วนกลางคอนโดได้ หากมีเหตุผลจำเป็นที่เหมาะสม เช่น ค่าใช้จ่ายจริงต่ำกว่าที่ประมาณการ มีเงินสำรองเหลือ โดยเบื้องต้นเจ้าของแต่ละห้องต้องทำหนังสือแจ้งไปที่นิติบุคคล เพื่อรวบรวมส่งให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นวาระการประชุม ซึ่งต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมด จึงสามารถปรับลดค่าส่วนกลางคอนโดได้

4. ไม่จ่ายค่าส่วนกลางคอนโดได้ไหม?

ไม่ได้ หากไม่จ่ายค่าส่วนกลางคอนโด นิติบุคคลมีสิทธิ์เรียกเก็บค่าปรับอัตราไม่เกิน 12-20% ตามยอดค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย ทั้งยังสามารถตัดสิทธิ์การใช้ส่วนกลาง รวมถึงมีโทษดำเนินคดีเพื่อบังคับให้ชำระค่าส่วนกลางได้ รวมถึงเสียผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ไม่ได้รับใบปลอดหนี้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ห้องให้กับผู้อื่นได้

5. ค้างค่าส่วนกลางคอนโดได้กี่เดือน?

ตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 18 หากจ่ายค่าส่วนกลางคอนโดเกินวันเวลาที่แจ้งกำหนดชำระแต่ไม่เกิน 6 เดือน ต้องเสียค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 12% ของยอดชำระพร้อมดอกเบี้ย แต่หากเกิน 6 เดือนขึ้นไป ต้องเสียค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 20% ของยอดชำระพร้อมดอกเบี้ย

 

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับซื้อคอนโดและแบบห้อง ตามอ่านต่อได้ที่ 

 

ศึกษาเรื่องค่าส่วนกลาง ก่อนซื้อคอนโดมิเนียมของตัวเอง

ค่าส่วนกลาง ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาพื้นที่ส่วนรวมของคอนโด ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เราควรศึกษาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมของตัวเอง เพราะนอกเหนือจากค่าผ่อนชำระรายเดือนแล้ว ค่าส่วนกลางเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายประจำที่จะต้อง
เตรียมงบประมาณไว้ เพื่อการอยู่อาศัยอย่างราบรื่นและมีความสุข

สำหรับใครที่กำลังมองหาโครงการคอนโดมิเนียมที่ตอบโจทย์ความต้องการที่ครบครัน สามารถใช้ โปรแกรมคำนวณผ่อนคอนโดจากเอพี เพื่อหาโครงการที่ใช่พร้อมเช็กยอดสินเชื่อและค่างวดในแต่ละเดือนแบบคร่าว ๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนการเงินในอนาคต และ โปรแกรมเปรียบเทียบโครงการที่อยู่อาศัยจากเอพี ที่ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของแต่ละโครงการและนำมาประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

เอพีไทยแลนด์ ช่วยเติมเต็มความหมายของชีวิต

เลือกเป็นเจ้าของโครงการบ้าน คอนโด จาก เอพีไทยแลนด์ เพื่อสร้างชีวิตดี ๆ บนพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเอง ไม่ว่าจะเป็น โครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมดีไซน์สวยหรือบ้านแฝดฟังก์ชันใหญ่ คอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย และโฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋งที่รองรับทุกธุรกิจ สามารถเลือกได้ตามต้องการ เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย

 

ดูโครงการคอนโดมิเนียมจาก เอพีไทยแลนด์

 

EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ

โปรแกรมคำนวณผ่อนบ้าน คอนโด สินเชื่อเบื้องต้น

คำนวณสินเชื่อบ้าน/คอนโด พร้อมแนะนำโครงการบ้านและคอนโดที่ตรงใจคุณ!
คำนวณสินเชื่อบ้านและคอนโดเบื้องต้นได้ง่ายๆ รู้ทันทีว่ากู้ได้เท่าไหร่
ผ่อนเดือนละเท่าไหร่ อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย

คำนวณเบื้องต้น

*อายุต้องอยู่ระหว่าง 20 ปี - 64 ปี

ผลลัพธ์ของฉัน

ธนาคารอัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน 0%
ระยะเวลากู้0ปี
ยอดผ่อนชำระต่อเดือน0บาท
วงเงินกู้สูงสุด0บาท

*อัตราดอกเบี้ยอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขแต่ละธนาคาร |*ผลจากการคำนวณดังกล่าวเป็นเพียงคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น