กู้บ้านหลังที่ 2 กู้ได้ 100% หรือไม่ เตรียมตัวอย่างไรดี

KNOW HOW · FINANCIAL

กู้บ้านหลังที่ 2 กู้ได้ 100% หรือไม่ เตรียมตัวอย่างไรดี

28 Jun 2025

แชร์ไปยัง

MAIN POINT

 

  • ปัจจุบัน มีมาตรการ LTV ในปี พ.ศ. 2568 สำหรับการกู้ซื้อบ้านและคอนโดที่ทำสัญญาตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2569 ทุกราคาและทุกสัญญาสามารถกู้ได้เต็มวงเงิน 100%* ทำให้การกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 เป็นเรื่องง่ายมากขึ้น 
  • ก่อนการยื่นกู้บ้านหลังที่ 2 ให้ผ่านอย่างราบรื่น ควรตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระ จัดการหนี้สินจากบ้านหลังแรกหรือหนี้สินอื่น ๆ เตรียมเงินออมไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เช็กเอกสารสำคัญให้ครบถ้วน รวมถึงเปรียบเทียบสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขจากธนาคารต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

 

 


การกู้บ้านหลังที่ 2 เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพื้นที่ชีวิตที่กว้างขวางมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ทั้งการขยายของครอบครัว เลี้ยงสัตว์ ทำกิจกรรมอดิเรก รวมถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ AP Thai จะพาไปทำความรู้จักกับข้อควรรู้ก่อนการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมให้ทุกคนสามารถวางแผนทางการเงินและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม

3 ข้อควรรู้สำหรับการกู้บ้านหลังที่ 2

ภาพ: บ้านหลังที่ 2 ที่มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น

1. วงเงินกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2

ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2569 ให้การซื้อบ้านและคอนโดทุกราคา ทุกสัญญาสามารถกู้ได้ 100% 

ถือเป็นการเพิ่มเพดานการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้สูงขึ้น กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน แทนเพดานเดิมที่ประมาณ 70%-90% ทั้งนี้การอนุมัติวงเงินขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละบุคคล

 

ราคาหลักทรัพย์ จำนวนหลักทรัพย์ที่ยังผ่อนชำระอยู่ เกณฑ์ LTV แบบเดิม เกณฑ์ LTV แบบใหม่

บ้านราคา ไม่เกิน 10 ล้านบาท

สัญญาหลังที่ 1

กู้ได้ 100%

(กู้ค่าตกแต่งบ้าน

เพิ่มได้ 10%)

กู้ได้ 100% 

(กู้ค่าตกแต่งบ้าน

เพิ่มได้ 10%)

สัญญาหลังที่ 2

กู้ได้ 90%

(หากผ่อนสัญญาที่ 1 มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี)

กู้ได้ 100%
สัญญาหลังที่ 3 ขึ้นไป

กู้ได้ 80%

(หากผ่อนสัญญาที่ 1 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี กู้ได้ 70%)

บ้านราคาเกิน 10 ล้านบาท

สัญญาหลังที่ 1 กู้ได้ 90% กู้ได้ 100%
สัญญาหลังที่ 2 กู้ได้ 80%
สัญญาหลังที่ 3 ขึ้นไป กู้ได้ 70%

 

ผ่อนปรนมาตรการ LTV สำหรับการกู้ร่วม

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

สำหรับกรณีการกู้ร่วม จากการผ่อนปรนมาตรการ LTV 2568 ที่ช่วยบรรเทาผลกระทบของผู้กู้ร่วมให้ได้รับสินเชื่ออย่างเหมาะสม คือหากผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ให้ผ่อนปรนเสมือนว่ายังไม่เป็นผู้กู้ในครั้งนั้น เป็นเพียงการช่วยเหลือกันภายในครอบครัว ดังนั้นเมื่อต้องการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยของตนเองก็สามารถทำได้ โดยจะนับว่าเป็นสัญญาแรก

2. การวางเงินดาวน์

จากเดิมที่หากซื้อบ้านหลังที่ 2 ต้องมีการวางเงินดาวน์ประมาณ 10-20% แต่ด้วยผลประโยชน์จากการผ่อนปรนมาตรการ LTV 2568 ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี จึงทำให้สามารถกู้บ้านหลังที่ 2 ทุกระดับราคาได้เต็มจำนวน 100% โดยไม่ต้องมีการวางเงินดาวน์ ทำให้คนมีบ้านหลังที่ 2 เป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น

3. ภาระหนี้บ้านหลังเดิม

การกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ในขณะที่ยังมีภาระจากหนี้บ้านหลังเดิมนั้นสามารถทำได้ โดยสถาบันการเงินจะดูจากประวัติการผ่อนชำระย้อนหลังอย่างน้อย 6-12 เดือน หากไม่มีการผิดนัดหรือชำระล่าช้า รวมถึงหากผ่อนมานานจนยอดหนี้ของบ้านหลังแรกเหลือจำนวนไม่มาก ก็มีโอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติการกู้บ้านหลังที่ 2 ได้ ด้วยความน่าเชื่อถือของผู้กู้

วิธีการเตรียมตัวก่อนยื่นกู้บ้านหลังที่ 2 ให้ผ่านฉลุย

การเตรียมเอกสารสำหรับกู้บ้านหลังที่ 2

1. ตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระ

การประเมินความสามารถในการผ่อนชำระหนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารจะพิจารณาจากอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ ซึ่งต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เช่น หากมีรายได้ 50,000 บาท จะสามารถมีภาระผ่อนบ้านได้เพียง 20,000 บาทเท่านั้น รวมถึงการตรวจสอบเครดิตบูโร และประวัติการผ่อนชำระที่ดีก่อนอนุมัติวงเงินกู้สินเชื่อ

2. จัดการหนี้สินจากบ้านหลังแรกหรือหนี้สินอื่น ๆ

หากก่อนการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ยังมีหนี้สินอื่น ๆ อยู่ เช่น รถยนต์ บัตรเครดิต หรือบ้านหลังแรก ควรจัดการปิดหนี้บางส่วนก่อนการทำเรื่องยื่นกู้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เพื่อลดภาระหนี้สินรวม และเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อได้มากขึ้น รวมถึงหากมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีจากบ้านหลังแรกก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธนาคาร

3. เตรียมเงินออมเพื่อชำระหนี้ระยะแรก

ก่อนการกู้บ้านหลังที่ 2 ควรเตรียมเงินออมไว้อย่างน้อยประมาณ 10% ของราคาบ้าน เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หรือไว้ผ่อนชำระหนี้ในระยะแรกได้อย่างราบรื่น ซึ่งหากเรามีเงินออมจำนวนมาก ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่แสดงให้ธนาคารเห็นว่าผู้กู้มีวินัยทางการเงินที่ดี

4. เตรียมเอกสารสำคัญให้ครบถ้วนก่อนยื่นกู้

เตรียมเอกสารสำคัญให้พร้อมสำหรับการยื่นเรื่องขอกู้บ้านหลังที่ 2 เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ

 

  • เอกสารยืนยันการมีรายได้ เช่น สลิปเงินเดือนล่าสุด รายการเดินบัญชีธนาคาร บัญชีเงินฝาก
  • เอกสารการชำระหนี้บ้านหลังแรก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ และมีประวัติทางการเงินที่ดี
  • เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องการกู้ เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขายบ้าน เพื่อให้ธนาคารประเมินมูลค่าทรัพย์สินและวงเงินกู้

5. เปรียบเทียบสินเชื่อและเงื่อนไขจากธนาคารต่าง ๆ

แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ย โปรโมชันพิเศษ ค่าธรรมเนียม ระยะเวลา ความยืดหยุ่นในการชำระหนี้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน หรือมาตรการการปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลต่อการวางแผนชำระหนี้ของผู้กู้ ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อบ้านหลังที่ 2 จึงควรเปรียบเทียบสินเชื่อและเงื่อนไขจากธนาคารต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม

 

AP Thai ได้รวบรวมอัตราดอกเบี้ยบ้านแต่ละธนาคาร พร้อมวิธีคำนวณและเคล็ดลับการเลือกสินเชื่อ สำหรับคนอยากกู้ซื้อบ้านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ อัตราดอกเบี้ยบ้าน สินเชื่อบ้าน-คอนโด ทุกธนาคาร ล่าสุด

รวมคำถามน่ารู้เกี่ยวกับบ้านกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2

การรีไฟแนนซ์บ้านหลังที่ 2

1. ซื้อบ้านหลังที่ 2 ใช้ลดหย่อนภาษีเหมือนบ้านแรกได้ไหม?

เนื่องจากกฎหมายไม่ได้จำกัดจำนวนที่อยู่อาศัยที่สามารถขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้าน ดังนั้นบ้านหลังที่ 2 สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามปกติเหมือนบ้านหลังแรก เพียงแต่ต้องพิจารณาจากดอกเบี้ยบ้านทุกหลังรวมกันแล้วใช้ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

2. บ้านหลังที่ 2 สามารถรีไฟแนนซ์ได้ภายหลังหรือเปล่า?

การซื้อบ้านหลังที่ 2 สามารถรีไฟแนนซ์ภายหลังได้ โดยปกติธนาคารจะกำหนดระยะเวลาไว้ เช่น  3 ปี หรือ 5 ปี ถึงจะรีไฟแนนซ์ได้ ดังนั้นหากจะรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด อาจต้องเสียค่าปรับให้ธนาคาร จึงควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละธนาคารที่ทำสัญญาสินเชื่ออย่างรอบคอบ

3. กู้บ้าน 2 หลังส่งผลต่อการขอกู้สินเชื่อประเภทอื่นในอนาคตหรือไม่?

การกู้บ้าน 2 หลังไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการขอกู้สินเชื่อประเภทอื่นในอนาคต เพียงแต่ธนาคารอาจต้องพิจารณาความเสี่ยงที่มากขึ้น เช่น ความสามารถในการชำระหนี้ อัตราหนี้สินทั้งหมดต่อรายได้ เพื่อประเมินการอนุมัติวงเงินกู้ที่เหมาะสม ทั้งนี้หากผู้กู้มีประวัติทางการเงินที่ดี มีวินัยในการผ่อนชำระ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่ออื่น ๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา

 

รวมความรู้ก่อนมีบ้านของตัวเอง ด้วยบทความน่ารู้จากเอพี

 

เตรียมตัวสำหรับการกู้บ้านหลังที่ 2 ไม่ยากอย่างที่คิด

กู้บ้านหลังที่ 2 ทำได้ง่ายขึ้น ด้วยมาตรการ LTV ฉบับอัปเดตใหม่ในปีนี้ ที่ทำให้การกู้ซื้อบ้านทุกราคาและทุกสัญญาสามารถกู้ได้เต็มวงเงิน 100% ทั้งนี้ก่อนการซื้อบ้านของตัวเอง ควรศึกษาเงื่อนไขของธนาคารอย่างรอบคอบ เพื่อผลประโยชน์และสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างราบรื่น

สำหรับใครที่กำลังมองหาโครงการบ้านที่ตอบโจทย์ความต้องการที่ครบครัน สามารถใช้ โปรแกรมคำนวณผ่อนบ้านจากเอพี เพื่อหาโครงการบ้านที่ใช่พร้อมเช็กยอดสินเชื่อและค่างวดในแต่ละเดือนแบบคร่าว ๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนการเงินในอนาคต และ โปรแกรมเปรียบเทียบโครงการที่อยู่อาศัยจากเอพี ที่ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของแต่ละโครงการและนำมาประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

เอพีไทยแลนด์ ช่วยเติมเต็มความหมายของชีวิต

เลือกเป็นเจ้าของโครงการบ้านจาก เอพีไทยแลนด์ เพื่อสร้างชีวิตดี ๆ บนพื้นที่ความสุขที่เราเลือกเอง ไม่ว่าจะเป็น โครงการบ้านเดี่ยวพื้นที่กว้างขวางเป็นส่วนตัว ทาวน์โฮมดีไซน์สวยหรือบ้านแฝดฟังก์ชันใหญ่ คอนโดมิเนียมทำเลติดรถไฟฟ้าเดินทางง่าย และโฮมออฟฟิศฟังก์ชันเจ๋งที่รองรับทุกธุรกิจ สามารถเลือกได้ตามต้องการ เพราะ “บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย

 

ดูโครงการบ้านจาก เอพีไทยแลนด์

 

EMPOWER LIVING อยู่ .. เพื่อทุกความหมายของคุณ

โปรแกรมคำนวณผ่อนบ้าน คอนโด สินเชื่อเบื้องต้น

คำนวณสินเชื่อบ้าน/คอนโด พร้อมแนะนำโครงการบ้านและคอนโดที่ตรงใจคุณ!
คำนวณสินเชื่อบ้านและคอนโดเบื้องต้นได้ง่ายๆ รู้ทันทีว่ากู้ได้เท่าไหร่
ผ่อนเดือนละเท่าไหร่ อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย

คำนวณเบื้องต้น

*อายุต้องอยู่ระหว่าง 20 ปี - 64 ปี

ผลลัพธ์ของฉัน

ธนาคารอัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน 0%
ระยะเวลากู้0ปี
ยอดผ่อนชำระต่อเดือน0บาท
วงเงินกู้สูงสุด0บาท

*อัตราดอกเบี้ยอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขแต่ละธนาคาร |*ผลจากการคำนวณดังกล่าวเป็นเพียงคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น